Image

สถานีตำรวจนครบาลจักรวรรดิCHAKRAWAT  METRO  POLICE  STATION

สถานีตำรวจนครบาลจักรวรรดิ

thzh-CNen
thzh-CNen
thzh-CNen
thzh-CNen

ประชุมมอบนโยบายการปฏิบัติหน้าที่ ให้กับข้าราชการตำรวจ สน.จักรวรรดิ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 เวลา 15.00 น.


ว่าที่ พ.ต.อ.วสันต์ ธวัชชัยวิรุตษ์ ผกก.สน.จักรวรรดิ
พร้อมผู้บังคับบัญชา
จักรวรรดิ 2
จักรวรรดิ 3
จักรวรรดิ 4
จักรวรรดิ 6
ประชุมมอบนโยบายการปฏิบัติหน้าที่ ให้กับข้าราชการตำรวจ สน.จักรวรรดิ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ รวมถึง สอบถามความเป็นอยู่ และความต้องการของข้าราชการตำรวจ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการบริหารงานด้านกำลังพล ด้านการทำงานและด้านสวัสดิการ ให้ตรงกับปัญหาและความต้องการ อย่างแท้จริงต่อไป

 

พ.ต.ท.ชาญณรงค์ สันตยานนท์ รอง ผกก.(สอบสวน)หน.งานฯ
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ยาเสพติด ฉบับใหม่
ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน
ให้ข้าราชการตำรวจได้รับทราบ ถือปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สรุปรายละเอียด ดังนี้
1. เดิม กฎหมายฯ มีหลายฉบับ (อย่างน้อย 6 ฉบับ) จึงต้องมีการบูรณาการให้มาอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน
2. ในเรืองของบทสันนิษฐาน เดิม มีบทสันนิษฐานเด็ดขาด (ให้ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย...) และมีการแก้ไขเป็น บทสันนิษฐานไม่เด็ดขาด (ให้สันนิษฐานว่า ..)
3. ในฐานความผิดของกลุ่มผู้เสพยาเสพติดฯประเภทที่ 1 มีโทษที่เบาขึ้น ในกฎหมายใหม่ (กฎหมายเดิม คือ จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง สามปี/ปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท/ทั้งจำทั้งปรับ ) ส่วนกฎหมายใหม่คือ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี/ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท/ทั้งจำทั้งปรับ)
4. บทกำหนดโทษเกี่ยวกับการบำบัดฟื้นฟู ยกเลิกโทษขั้นต่ำ ไม่ลงโทษผู้เสพที่สมัครใจบำบัด ยกเลิกการรับโทษหนักขึ้นจากการพิจารณาที่แง่ปริมาณ เป็นการพิจารณาจากเหตุแห่งพฤติการณ์ร้ายแรงประกอบ แทน
5. วิธีการกำหนดโทษ ที่กฎหมายให้มุ่งลงโทษหนักกับความผิดร้ายแรง ส่วนความผิดไม่ร้ายแรง ก็เปิดช่องให้ใช้ดุลยพินิจได้มาขึ้น มุ่งที่การบำบัดมากกว่าการลงโทษ

 

พ.ต.ท.กฤษฎิพัจน์ ศรีอ่อน รอง ผกก.สส.สน.จักรวรรดิ
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ การตรวจค้น จับกุม และการสอบสวนคดีอาญา
สรุปรายละเอียด
ในการตรวจค้น จับกุม ให้ข้าราชการตำรวจทุกนาย ต้องมีการบันทึกภาพและเสียงการตรวจค้นฯ
ตามคำสั่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 178/2564 เพื่อใช้ประกอบการสืบสวนสอบสวน ทุกครั้ง ทั้งนี้
เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด รวมถึง ปกป้องตนเองจากการถูกกล่าวหาเกี่ยวกับ
การตรวจค้น จับกุม ที่มิชอบได้


เรื่องที่คุณอาจสนใจ